วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เจียวกู้หลานนำเสนอบทความเรื่องอนุมูลอิสระ

เจียวกู้หลานธรรมชาติ
 เจียวกู้หลานธรรมชาติให้คุณค่าสมุนไพรครบถ้วนกว่าน่าใช้กว่าราคาถูกกว่า ปลอดภัยจากสารเคมีเจือปน เจียวกู้หลานธรรมชาติจากยอดดอยของเชียงใหม่ ให้ประโยชน์ครบเครื่องกว่า ใช้บำรุงร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงให้อวัยวะ ใช้เสริมยาหมอให้การรักษาของหมอดีขึ้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง หลอดเลือดตีบอุดตัน สมุนไพรในเจียวกู้หลานมีคุณสมบัติเป็นสารอาหารเสริมสามารถใช้คู่กับยาหมอได้ดีไม่ขัดแย้ง ไม่ลดหรือทำลายสรรพคุณของยาหมอเห็นผลการรักษาของหมอได้ชัดเจน สมุนไพรในเจียวกู้หลานธรรมชาติเหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพใช้ป้องกันเสริมสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น ความเสื่อมของอวัยวะและขัดขวางการทำงานของอนุมูลอิสระ ปลอดภัยกว่าเจียวกู้หลานทั่วๆ ไป เพราะเป็นเจียวกู้หลานจากธรรมชาติไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่งใดๆ เช่น สารเคมีป้องกันเชื้อรา สารเคมีป้องกันการบูดเน่า สารปรุงแต่งสี รสชาด และกลิ่น อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าของเม็ดเลือดต่ำลง เจียวกู้หลานธรรมชาติให้ประโยชน์ครบในตัวของสมุนไพรที่คุณไม่จำเป็นต้องเติมหรือเสริมสมุนไพรใดๆให้การจ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์ต้องเพิ่มขึ้นไป เช่นนำเจียวกู้หลานมาผสมกับสมุนไพรอื่น อาทิเช่น ชามิกซ์ ต่างๆ ทำให้คุณต้องจ่ายเงินมากขึ้นได้ผลเท่ากัน ชามิกซ์ส่วนใหญ่มีเจียวกู้หลานเป็นส่วนประกอบ

อนุมูลอิสระ
ดร.พรทิพย์ วิรัชวงศ์
วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์

โดยปกติจะมีการกล่าวถึงเฉพาะอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่เป็นสาเหตุการเกิด
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในร่างกายเรา แต่แท้จริงแล้ว Reactive oxygen species (ROS) คือ
ตัวการสำคัญอีกตัวหนึ่ง โดย ROS จะรวมถึง โมเลกุลที่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาที่เป็นทั้ง
อนุมูลอิสระ (radicals) หรือที่ไม่เป็นอนุมูลอิสระ (nonradicals) ก็ได้

อนุมูลอิสระ (free radicals) หรือ ROS คือโมเลกุลหรืออิออนที่มีอิเลคตรอน
โดดเดี่ยว อยู่รอบนอกและมีอายุสั้นมากประมาณ 1 หรือ 10-3-10-10 วินาที จึงจัดว่าเป็นโมเลกุล
ที่ไม่เสถียรและว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยสามารถตรวจวัด ด้วย Electron Spin
Resonance (ESR) โมเลกุลหรืออิออนชนิดนี้เป็นตัวก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ตัวอย่างของ
อนุมูลอิสระ (free radicals) และ Reactive oxygen species (ROS) มีดังนี้

Superoxide anion radical O•2
Hydroxyl radical HO•
Peroxide radical ROO•
Peroxyl radical LOO•
Hydrogen peroxide H2O2
Ozone O3
Singlet oxygen 1O2
Hydrogen radical H•
Methyl radical CH• 3

ชนิดของอนุมูลอิสระสามารถแบ่งได้อย่างง่ายๆ คือ
1. อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของ
ร่างกายเอง
2. อนุมูลอิสระจากภายนอกร่างกาย
 2.1 การติดเชื้อ ทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส
2.2 การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ (autoimmune diseses) เช่น ข้ออักเสบ
รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
2.3 รังสี
2.4 สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เช่น ควันเสียและเขม่าจากเครื่องยนต์ ควันบุหรี่
ยาฆ่าแมลง
2.5 การออกกำลังกายอย่างหักโหม
โดยหลักการทางเคมีอนุมูลอิสระ และ ROS เกิดโดย
1. ปฏิกิริยาการแยกอย่างสมมาตร (symmetric separation)
X - X ------> X• + X•
2. อนุมูลอิสระอื่นๆ
X• - HR ------> HX + R•

จากที่กล่าวมาแล้วว่าอนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นมาทั้งจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของ
ร่างกายเอง และในภาวะที่ผิดปกติ เช่น ภาวะของโรค หรือภาวะที่ร่างกายแวดล้อมด้วยมลพิษ
โดยในภาวะที่ผิดปกติจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมของอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจำเป็น
ที่ร่างกายต้องหาทางป้องกัน การโดนทำลายจากอนุมูลอิสระเหล่านั้น สิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อ
ปกป้องตัวเอง ก็คือระบบแอนตี้ออกซิ-แดนท์ (antioxidants) ซึ่งประกอบไปด้วยสารหรือเอนไซม์
ต่างๆ ที่ความเข้มข้นต่ำๆ ก็สามารถจะชะลอหรือป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสาร (substrate)
ที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยสาร (substrate) เหล่านี้รวมถึงสารเกือบทุกชนิดในร่างกาย เช่น
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ดีเอ็นเอ แต่อย่างไรก็ตามมีบางภาวะที่ปริมาณอนุมูลอิสระมีมากเกิน
กว่าที่ระบบแอนตี้ออกซิแดนท์จะจัดการได้ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า oxidative stress ขึ้นมาซึ่งจะส่ง
ผลกระทบต่างๆ ต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น การทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ของดีเอ็นเอ โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต และเกิดการทำลายของกลุ่มโมเลกุลที่มีพันธะ S-H และเยื่อหุ้มเซลล์ ก่อให้เกิด
ผลเสียต่อเซลล์ และการทำลายเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของการแก่ (aging) และรุนแรงไปถึงการเกิด
เป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น เส้นเลือดตีบ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน (autoimmune disease)
โรคที่เกิดจากการที่เลือดกลับไปเลี้ยงอวัยวะที่เคยมีการตีบตันของเส้นเลือดในระยะสั้นๆ มาก่อน
(reoxyge-nation injury, reperfusion injury) รวมไปถึงโรคมะเร็งเป็นต้น

การทำลายโมเลกุลที่เป็นต้นเหตุการเกิดของอนุมูลอิสระนับเป็นกลไกการทำงานของ
ระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ที่สำคัญกลไกหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำงานที่อาศัยเอนไซม์หรือไม่ก็ได้

สารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่พบในร่างกายและจัดเป็นเอนไซม์ ได้แก่
Superoxide dismutase (SOD)
Catalase (CAT)
Glutathione peroxidase (GPX)
Glutathione reductase (GR)
Glutathione S-transferase (GST)

ส่วนสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่พบในร่างกาย แต่ไม่จัดเป็นเอนไซม์ ได้แก่
Glutathione
Lipoic acid
Ceruloplasmin
Albumin
Transferrin
Haptoglobin
Hemopexin
Uric acid
Bilirubin
Cysteine

ส่วนสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่พบในอาหารและไม่จัดเป็นเอนไซม์ ได้แก่
Tocopherols
Carotenoids
Ascorbic acid, Steroids, Ubiquinones, Thiols, Inosine, Taurine, Pyruvate
Gallic acid, Flavonoids
Trolox, BHT, BHA

สารแอนตี้ออกซิแดนท์เหล่านี้จะทำลายอนุมูลอิสระโดยการจับกับอนุมูลอิสระ ลดการเกิด
ปฏิกิริยา ณ จุดตั้งต้นหรือยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่

การหาขีดความสามารถในการเป็นตัวต้าน อนุมูลอิสระของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ส่วนใหญ่
ทำโดยอาศัยหลักการดังรูปที่ 1 นั่นคือ ขั้นแรกจะเป็นสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาก่อน แล้วจึงเติมสารแอนตี้-
ออกซิแดนท์ลงไป จากนั้นทำการตรวจวัดหาอนุมูลอิสระที่เหลือหลังจากการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งหลักการนี้
สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดของตัวกำเนิดอนุมูลอิสระ และชนิดของตัว
ตรวจวัดอนุมูลอิสระ ดังแสดงในตารางที่ 1 เป็นวิธีการตรวจวัดขีดความสามารถของสารแอนตี้ออกซิแดนท์
ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นวิธีที่มีการใช้อย่าง แพร่หลายและรายงานไว้โดยนักวิจัยกลุ่มต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น